
ความชื้นในดิน
ความชื้นในดินคืออะไร?
อ่านเพิ่มเติมความชื้นในดินคืออะไร?
ความชื้นในดิน (Soil Moisture) มีความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละความคิดคน
ตัวอย่างเช่นแนวคิดของเกษตรกรเกี่ยวกับ ความชื้น ในดินจะแตกต่างจากผู้จัดการทรัพยากรน้ำหรือนักพยากรณ์อากาศ
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปความชื้นในดินคือน้ำที่กักเก็บไว้ในช่องว่างระหว่างอนุภาคของดิน ความชื้นในดินคือน้ำที่อยู่ในชั้นบนของดิน 10 เซนติเมตร
ในขณะที่ความชื้นในดินบริเวณรากคือน้ำที่มีอยู่ในพืช ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ในดินชั้นบน 200 เซนติเมตร
แหล่งที่มา:
https://www.ponpe.com
ปริมาณความชื้นหรือน้ำในดินเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้เนื่องจาก:
• น้ำในดินทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายและเป็นพาหะของสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของพืช
• ผลผลิตของพืชมักขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่มีมากกว่าสารอาหารอื่น ๆ
• น้ำในดินทำหน้าที่เป็นสารอาหารด้วยตัวมันเอง
• น้ำในดินทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของดิน
• กระบวนการขึ้นรูปของดินและการผุกร่อนขึ้นอยู่กับน้ำ
• จุลินทรีย์ต้องการน้ำสำหรับทำกระบวนการเมทาบอลิซึม (metabolism)
• น้ำในดินช่วยในการทำปฏิกิริยาเคมีและชีวภาพของดิน
• น้ำในดินเป็นองค์ประกอบหลักในการเติบโตของพืช
• น้ำจำเป็นต่อการสังเคราะห์แสง
แหล่งที่มา:
https://www.ponpe.com
ปริมาณความชื้นที่เหมาะสม (MC%) ของดินอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นชนิดของดิน ภูมิอากาศ และความต้องการเฉพาะของพืชผล
ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลทั่วไปที่แสดงช่วงความชื้นที่เหมาะสมโดยประมาณ พืชที่ระบุไว้แสดงถึงสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไป
• ดอกไม้ ต้นไม้ และไม้พุ่มส่วนใหญ่ต้องการระดับความชื้นระหว่าง 21% – 40%
• ผักทั้งหมดต้องการความชื้นของดินระหว่าง 41% - 80%
• เมล่อนต้องการความชื้นของดินระหว่าง 80% - 99%
แหล่งที่มา:
https://www.neonics.co.th
.png)
อุณหภูมิ
อุณหภูมิคืออะไร?
อ่านเพิ่มเติมความชื้นในดินคืออะไร?
> อุณหภูมิอากาศ : ในการเจริญเติบโตชองพืช จะหยุดชะงัก ก็ต่อเมื่อพืชนั้นได้รับอุณหภูมิอากาศที่สูงหรือต่ำเกินไป พืชนั้นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วก็ต่อเมื่อพืชนั้นได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม
> อุณหภูมิภายในดิน : นั้นมีอิทธิผลต่อการงอกงามของเมล็ดและราก การดูดซึมซับน้ำ ธาตุอาหารต่างๆภายในดิน การเปลื่ยนแปลงอุณหภูมิในดินขึ้นอยู่กับรังสีของพระอาทิตย์ อุณหภูมิภายในดินนั้นต้องพอเหมาะกับพืชแต่ละชนิด
การปรับระดับอุณหภูมิในดินนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีและแข็งแรงต่อการเพาะปลูก เช่น มีการปลูกพืชปกคลุมผิวหน้าดินนั้นเอง หรือ ปริมาณน้ำในดิน
แหล่งที่มา:
https://legatool.com/wp/10911/
อากาศ: อุณหภูมิอากาศที่ทำให้พืชพันธุ์นั้นสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว อยู่รอด และแข็งแรง อยู่ที่ ประมาณ 15 – 40 องศาเซลเซียส
> ดิน: อุณหภูมิภายในดินมีความสำคัญต่อการงอกงามของเมล็ดและราก การเคลื่ยนย้ายสารอาหารภายในลำต้นของพืช นั้น อยู่ในอุณหภูมิที่ 20 – 30 องศาเซลเซียส
แหล่งที่มา:
https://legatool.com/wp/10911/

ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์คืออะไร?
อ่านเพิ่มเติมความชื้นสัมพัทธ์ คืออะไร?
ความชื้น (Humidity) หรือเรียกว่าปริมาณไอน้ำในอากาศ ซึ่งเกิดจากสารผสมระหว่างไอน้ำกับองค์ประกอบอื่นในอากาศ อาจเกิดจากกระบวนการระเหยของแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ทะเล มหาสมุทร เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ก็จะระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยสู่ชั้นบรรยากาศ หรือเกิดจากกระบวนการคายน้ำของพืช
รวมถึงกิจกรรมทางน้ำที่เกิดจากมนุษย์ โดยนิยามในแง่ของปริมาณน้ำในสารผสมนี้ว่า “ความชื้นสัมบูรณ์” ในชีวิตประจำวันเรา คำว่า “ความชื้นในอากาศ” มักหมายถึง ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า โดยแสดงผลเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ในการทำนายสภาพอากาศ
ความชื้นและอุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมพอควร พืชจะเจริญเติบโตดีและสมบูรณ์ ส่วนเมื่อมีอุณหภูมิหรือความชื้นมากหรือน้อยเกินไป จะส่งผลต่อพืชได้ดังนี้
> ความชื้นสูงเกินไป : การมีความชื้นสูงเกินไปอาจทำให้พืชเจริญเติบโตช้าลง และเป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อราและแมลง
> ความชื้นต่ำเกินไป : การมีความชื้นต่ำเกินไปอาจทำให้พืชแห้ง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
> อุณหภูมิสูงเกินไป : การมีอุณหภูมิสูงเกินไปอาจทำให้พืชแห้งและไหม้ และยังส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช โดยอุณหภูมิสูงจะทำให้การสังเคราะห์แสงชะงัก ส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลง
> อุณหภูมิต่ำเกินไป : การมีอุณหภูมิต่ำเกินไปอาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และยังส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืชเช่นเดียวกับอุณหภูมิสูง เนื่องจากพืชต้องการอุณหภูมิเหมาะสมเพื่อสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโต
แหล่งที่มา:
https://www.hannathailand.com/2022/02/10/ความชื้นในอากาศ-สำคัญอ/
แหล่งที่มา:
https://www.zolftech.com/18080079/อุณหภูมิและความชื้นมีผลอย่างไรกับพืช
ความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด
> อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชจะแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
> พืชที่ต้องการความชื้นและอุณหภูมิสูง: อุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส และความชื้นระหว่าง 60-80% เช่น พริก, มะเขือเทศ, มะเขือยาว, แตงกวา,หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
> พืชที่ต้องการอุณหภูมิปานกลาง: อุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และความชื้นระหว่าง 50-70% มีต้นกล้าและผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักกาด, ผักกวางตุ้ง, กะหล่ำปลี, คะน้า, ผักบุ้งจีน, ผักชีฝรั่ง, ผักสลัด เป็นต้น
> พืชที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ: อุณหภูมิระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส และความชื้นระหว่าง 60-80% เช่น สตรอเบอร์รี่, องุ่น, แอปเปิ้ล, กล้วยไม้ เป็นต้น
แหล่งที่มา:
https://www.hannathailand.com/2022/02/10/ความชื้นในอากาศ-สำคัญอ/
แหล่งที่มา:
https://www.zolftech.com/18080079/อุณหภูมิและความชื้นมีผลอย่างไรกับพืช

ธาตุสารอาหารในดิน
ธาตุสารอาหารในดินคืออะไร?
อ่านเพิ่มเติมธาตุสารอาหารในดินคืออะไร?

แหล่งที่มา:
https://www.kingpandurian.com

ไนโตรเจน (N)
แหล่งที่มา:
https://www.kingpandurian.com

ฟอสฟอรัส (P)
แหล่งที่มา:
https://www.kingpandurian.com

โพแทสเซียม (K)
แหล่งที่มา:
https://www.kingpandurian.com
N ไนโตรเจน ช่วยในเรื่อง
– ใบ : สังเคราะห์แสงสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยให้ใบพืชมีสีเขียว
– ลำต้น : ช่วยทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์
หากพืชขาดธาตุอาหาร N ไนโตรเจน พืชจะเป็นอย่างไร?
– ใบของพืช : จะแสดงอาการใบเหลือง ใบมีขนาดเล็กลง ลำต้นจะแคระแกร็น ส่งผลทำให้ได้ผลผลิตต่ำ
P ฟอสฟอรัส ช่วยในเรื่อง
– ดอก : เร่งการออกผล สร้างเมล็ด ช่วยการออกดอก ผสมเกสร
– ราก : ดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ดี ช่วยให้รากใหญ่ แข็งแรง กระจายตัวดี
หากพืชขาดธาตุอาหาร P ฟอสฟอรัส พืชจะเป็นอย่างไร?
– ลำต้นจะแคระแกร็น ไม่ผลิดอก ส่งผลทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ระบบรากไม่เจริญเติบโต
– ใบแก่จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีม่วงแล้วกลายเป็นสีน้ำตาล หลุดร่วงหมด
K โพแทสเซียม ช่วยในเรื่อง
– ผล : ผลใหญ่ขึ้น รสชาติหวานขึ้น สีสวยสด เนื้อของผลมีคุณภาพ เพราะจะช่วยสร้างแป้ง น้ำตาล โปรตีน
หากพืชขาดธาตุอาหาร K โพแทสเซียม จะเป็นอย่างไร?
– ใบ : เกิดรอยไหม้ตามขอบใบและใบเหลือง
แหล่งที่มา:
https://www.kingpandurian.com

ค่ากรด-ด่าง
ค่ากรด-ด่างคืออะไร?
อ่านเพิ่มเติมค่ากรด-ด่างคืออะไร?
ค่า pH คือการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนซึ่งเป็นการวัดความป็นกรด-ด่างหรือเบสของสารละลาย ของเหลวหรือน้ำ โดยที่ระดับพีเอช มักจะอยู่ในช่วง 0 ถึง 14 โดยของเหลวที่มีค่าพีเอช น้อยกว่า 7 จะมีสภาพเป็นกรด ของเหลวหรือน้ำที่มีค่าพีเอช มากกว่า 7 จะเป็นด่างหรือเบส ส่วนระดับค่าพีเอช ที่ 7.0 หมายถึง “เป็นกลาง” โดยมีความเป็นไปได้ถ้าของเหลวมีความเป็นกรดรุนแรงจะมีค่าพีเอช ที่ต่ำกว่า 0 และถ้าของเหลวมีความเป็นด่างสูงจะมีค่าพีเอช ที่มากกว่า 14
แหล่งที่มา:
https://www.neonics.co.th/ph/what-is-ph-and-measurement.html
ค่า pH ของน้ำเป็นตัวกำหนดความสามารถในการละลาย (ปริมาณสารที่สามารถละลายได้ในน้ำ) เช่นน้ำที่มีค่าพีเอช ต่ำ (เป็นกรด) นั่นหมายความว่าน้ำนั้นมีแนวโน้มที่จะมีธาตุโลหะหนักและสารอื่นๆ ละลายอยู่เช่นเหล็ก ทองแดง และอื่นๆ และค่าพีเอช ยังแสดงถึงความสามารถในการดำรงชีพของสัตว์น้ำ
pH เป็นปริมาณที่สำคัญที่สะท้อนถึงสภาพทางเคมีของสารละลาย ค่าพีเอช สามารถควบคุมความพร้อมใช้งานของสารอาหารหน้าที่ทางชีวภาพกิจกรรมของจุลินทรีย์และพฤติกรรมของสารเคมี ด้วยเหตุนี้การตรวจสอบหรือควบคุมค่าพีเอช ของดินน้ำและผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มจึงมีความสำคัญสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย
แหล่งที่มา:
https://www.neonics.co.th/ph/what-is-ph-and-measurement.html
(1) pH มีค่า 7 หมายความว่ามีความเป็นกลาง (natural pH)
(2) pH มีค่าต่ำกว่า 7 แสดงความเป็นกรด (acidic pH)
(3) pH มีค่าสูงกว่า 7 แสดงความเป็นเบสหรือด่าง (alkaline pH)
แหล่งที่มา:
https://www.neonics.co.th/ph/what-is-ph-and-measurement.html