

เมล่อน มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า แตงเทศ แตงหวาน แตงหอม หรือแคนตาลูป เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ในแถบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยมากกว่า 50 ปี แล้ว
> พันธุ์เบา อายุ 65 - 70 วันหลังปลูก
> พันธุ์กลาง อายุ 75 - 80 วันหลังปลูก
> พันธุ์หนัก อายุ 85 - 90 วันหลังปลูก
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)
> การปลูกเมล่อน : เพาะกล้าในวัสดุเพาะหยอดเมล็ดลงในถาด ถาดละ 1 เมล็ด แล้วกลบด้วยวัสดุเพาะกล้า รดน้ำให้ชุ่ม นำไปวางไวในที่ร่มรำไร รอจนกระทั่งเมล็ดเริ่มงอกและมีใบเขียว ขนาดของต้นกล้าที่แข็งแรงพอที่จะย้ายปลูกได้ ประมาณ 10 - 15 วัน
> การเตรียมแปลง : ไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ให้ใส่ปูนขาวเมื่อดินเป็นกรด ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ยกร่องให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 80 - 100 เซนติเมตร ระยะร่องห่างประมาณ 80 เซนติเมตร วางระบบน้ำหยดและคลุมพลาสติกดำ
> การตัดแขนง : เมื่อเมล่อนอายุได้ประมาณ 10-15 วัน เมล่อนจะแตกกิ่งแขนงออกมาให้ตัดกิ่งแขนงที่เกิดต่ำกว่าข้อที่ 9 โดยตัดตั้งแต่ยังมีขนาดเล็ก
> การผสมเกสรและการไว้ผล : เมื่อเมล่อนมีอายุประมาณ 25 วัน ดอกตัวเมียจะเริ่มบาน ต้องนำเกสรตัวผู้จากต้นใกล้เคียงมาผสม การผสมเกสรต้องทำเมื่อดอกตัวเมียบานในตอนเช้าในขณะที่อากาศยังมีอุณหภูมิไม่สูงมาก หลังจากนั่นดอกตัวเมียจะหุบไม่รับการผสมอีกต่อไป
> การไว้ผล : เมื่อเริ่มติดเป็นผลอ่อนขนาดเท่าไข่ไก่ ให้คัดเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว โดยดูจากผลที่รูปร่างสมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว และมีขั้วผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
> การเก็บเกี่ยว : เมล่อนหลังการผสมเกสร ประมาณ 40-45 วัน ก็สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสังเกตระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวได้จาก
- รอยแยกของขั้ว สังเกต ระหว่างขั้วกับผลถ้ามีรอยร้าวสีน้ำตาลเกิดขึ้นแสดงว่าเก็บผลผลิตได้
- รอยนูนของร่างแห เมล่อนที่มีตาข่าย เมื่อสุกตาข่ายจะคลุมผลแข็งนูนเห็ดได้ชัด
- กลิ่น บางพันธุ์เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม
- นับอายุ โดยนับจากช่วงผสมเกสรตามอายุของพันธุ์นั้น
- ใบเลี้ยงลูกจะแห้งและเป็นสีน้ำตาล
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)
> การเตรียมแปลง : ไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร ให้ใส่ปูนขาวเมื่อดินเป็นกรด ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ยกร่องให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 80 - 100 เซนติเมตร ระยะร่องห่างประมาณ 80 เซนติเมตร วางระบบน้ำหยดและคลุมพลาสติกดำ
> การตัดแขนง : เมื่อเมล่อนอายุได้ประมาณ 10-15 วัน เมล่อนจะแตกกิ่งแขนงออกมาให้ตัดกิ่งแขนงที่เกิดต่ำกว่าข้อที่ 9 โดยตัดตั้งแต่ยังมีขนาดเล็ก
> การผสมเกสรและการไว้ผล : เมื่อเมล่อนมีอายุประมาณ 25 วัน ดอกตัวเมียจะเริ่มบาน ต้องนำเกสรตัวผู้จากต้นใกล้เคียงมาผสม การผสมเกสรต้องทำเมื่อดอกตัวเมียบานในตอนเช้าในขณะที่อากาศยังมีอุณหภูมิไม่สูงมาก หลังจากนั่นดอกตัวเมียจะหุบไม่รับการผสมอีกต่อไป
> การไว้ผล : เมื่อเริ่มติดเป็นผลอ่อนขนาดเท่าไข่ไก่ ให้คัดเลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว โดยดูจากผลที่รูปร่างสมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว และมีขั้วผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
> การเก็บเกี่ยว : เมล่อนหลังการผสมเกสร ประมาณ 40-45 วัน ก็สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสังเกตระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวได้จาก
- รอยแยกของขั้ว สังเกต ระหว่างขั้วกับผลถ้ามีรอยร้าวสีน้ำตาลเกิดขึ้นแสดงว่าเก็บผลผลิตได้
- รอยนูนของร่างแห เมล่อนที่มีตาข่าย เมื่อสุกตาข่ายจะคลุมผลแข็งนูนเห็ดได้ชัด
- กลิ่น บางพันธุ์เมื่อสุกจะมีกลิ่นหอม
- นับอายุ โดยนับจากช่วงผสมเกสรตามอายุของพันธุ์นั้น
- ใบเลี้ยงลูกจะแห้งและเป็นสีน้ำตาล
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)
- โรคเหี่ยว : เกิดจากเชื้อรา เป็นโรคที่เกิดกับพืชตระกูลแตงมีหลายอาการ ใบเลี้ยงจะเหี่ยงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองร่วงและพืชแสดงอาการเหี่ยวเฉาจากยอดลงมา
- โรคต้นแตกยางไหล : เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคที่ระบาดในแถบร้อน เป็นโรคที่ติดมาจากเมล็ดพันธุ์ได้ อาการเริ่มแรกขอบใบจะมีสีน้ำตาลบวมแดงหรือสีดำและขยายไปที่ส่วนกลางใบ อาการที่เด่นชัดคือแผลจะมีเมือกเหนียวหรือสีน้ำตาลอมแดง
- โรคราแป้ง : เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปจะแพร่กระจายโดยลมระบาดอาการจะปรากฎเป็นจุดสีเหลืองที่ลำต้นและยอดอ่อนทั้งบนและล่างของใบแผลจะมีการขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีเหลืองน้ำตาลและแห้งกรอบ
- โรคราน้ำค้าง : เป็นโรคที่สำคัญของพืชตระกูลแตง อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่างเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ ใบจะแห้งตายขอบใบม้วนและร่วง
> แมลงที่สำคัญของเมล่อน : เพลี้ยไฟ,เต่าแตง,แมลงหวี่ขาว,แมลงวันทอง
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)
- โรคต้นแตกยางไหล : เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคที่ระบาดในแถบร้อน เป็นโรคที่ติดมาจากเมล็ดพันธุ์ได้ อาการเริ่มแรกขอบใบจะมีสีน้ำตาลบวมแดงหรือสีดำและขยายไปที่ส่วนกลางใบ อาการที่เด่นชัดคือแผลจะมีเมือกเหนียวหรือสีน้ำตาลอมแดง
- โรคราแป้ง : เกิดจากเชื้อราโดยทั่วไปจะแพร่กระจายโดยลมระบาดอาการจะปรากฎเป็นจุดสีเหลืองที่ลำต้นและยอดอ่อนทั้งบนและล่างของใบแผลจะมีการขยายใหญ่ขึ้นเป็นสีเหลืองน้ำตาลและแห้งกรอบ
- โรคราน้ำค้าง : เป็นโรคที่สำคัญของพืชตระกูลแตง อาการเริ่มแรกจะพบที่ใบล่างเป็นจุดสีเหลืองหรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก เป็นเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ ใบจะแห้งตายขอบใบม้วนและร่วง
> แมลงที่สำคัญของเมล่อน : เพลี้ยไฟ,เต่าแตง,แมลงหวี่ขาว,แมลงวันทอง
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)
> การให้ปุ๋ย
> การให้น้ำ
- ระยะปลูก-ติดผล-แตกลาย ให้เน้ำปริมาณมาก จากนั้นค่อยๆ ลดปริมาณการให้น้ำและเวลาลง
- ช่วงแตกลาย ประมาณ 7 วัน ให้ปริมาณน้ำลดลง
- แตกลายเต็ม ให้เพิ่มปริมาณน้ำ
- ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ลดปริมาณน้ำจนแปลงแห้ง
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)
ช่วงอายุ | อัตรา |
---|---|
อายุ ประมาณ 1 - 25 วัน (ย้ายปลูก-ผสมดอก) | > ปุ๋ย 21-21-21 อัตรา 0.5 - 1 กรัม/ต้น/วัน > แคลเซียม + โบรอน ฉีดพ่น 5-7 วัน/ครั้ง > น้ำตาลทางด่วน ฉีดพ่น 5 - 7 วันต่อครั้ง |
อายุ 7 - 20 วัน (หลังผสมเกสร) | > ปุ๋ย 21-21-21 อัตรา 1 กรัม/ต้น/วัน > ปุ๋ย 13-0-46 อัตรา 1 กรัม/ต้น (กรณีผลไม่โต) > แคลเซียม + โบรอน ฉีดพ่น 7 วัน/ครั้ง > น้ำตาลทางด่วน ฉีดพ่น 5 - 7 วัน/ครั้ง |
อายุ 20 - 30 วัน | > ไฮโปส อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร วันละ 2 - 3 ครั้ง หรือ ปุ๋ย 5-10-40 อัตรา 0.8 - 1 กรัม/ต้น/วัน |
อายุ 31 - 36 วัน | > ปุ๋ย 0-0-50 อัตรา 150 กรัม/ต้น/วัน |
อายุ 37 - 39 วัน | > ปุ๋ย 0-0-50 อัตรา 150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร |
อายุ 40 - 45 วัน | > ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ |
> การให้น้ำ
- ระยะปลูก-ติดผล-แตกลาย ให้เน้ำปริมาณมาก จากนั้นค่อยๆ ลดปริมาณการให้น้ำและเวลาลง
- ช่วงแตกลาย ประมาณ 7 วัน ให้ปริมาณน้ำลดลง
- แตกลายเต็ม ให้เพิ่มปริมาณน้ำ
- ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ลดปริมาณน้ำจนแปลงแห้ง
แหล่งที่มา: วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่อำเภอบางบาล (ละออฟาร์ม)